คุณเคยเป็นไหม? คุณรู้สึกเหนื่อยหน่าย อ่อนล้า อ่อนเพลีย หมดไฟ ไม่อยากไปทำงานหรือ คุณกำลังรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่ทำอยู่ ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณลดลง รวมไปถึงหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ปวดหัว และ ปวดท้องอยู่บ่อยๆ หากคุณกำลังเผชิญกับอาการเหล่านี้ คุณอาจกำลังเข้าสู่ภาวะ “Burnout Syndrome” หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน อยู่ก็เป็นได้นะครับ โดย Burnout Syndrome เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิตของคุณ
Burnout คืออะไร?
Burnout หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะที่บุคคลรู้สึกเหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย หมดไฟ หมดแรงจูงใจในการทำงาน เกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน มักพบในผู้ที่มีความทุ่มเทกับงานมาก ทำงานหนัก ขาดการพักผ่อน
สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้ามของ Burnout Syndrome
- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียเรื้อรัง นอนหลับไม่สนิท
- เบื่อหน่าย ไม่อยากทำงาน ขาดแรงจูงใจ
- ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำงานผิดพลาดบ่อย
- หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน
- รู้สึกแยกตัว ไม่มีความสุขในการทำงาน
- มีปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปัญหาระบบย่อยอาหาร
สาเหตุของการเกิด Burnout Syndrome
- การทำงานหนัก ขาดการพักผ่อน: ทำงานล่วงเวลา พักผ่อนน้อย นอนน้อย
- ความเครียดจากการทำงาน: แรงกดดันจากงาน ปัญหาในที่ทำงาน
- ขาดการสนับสนุนจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน: รู้สึกโดดเดี่ยว ไมได้รับการสนับสนุน
- ขาดความท้าทายในงาน: รู้สึกเบื่อหน่ายกับงาน ไม่อยากพัฒนาตัวเอง
- ความคาดหวังสูง: กดดันตัวเอง ต้องการความสมบูรณ์แบบ
วิธีแก้ไขอาการ Burnout Syndrome
- หาเวลาพักผ่อน: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หาเวลาผ่อนคลาย ออกกำลังกาย
- จัดลำดับความสำคัญ: เรียงลำดับงาน จัดการเวลา วางแผนการทำงาน
- สื่อสารปัญหา: พูดคุยกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน หาทางออกร่วมกัน
- หาเวลาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ: ผ่อนคลายความเครียด หาสิ่งที่เติมพลังให้ชีวิต
- ฝึกสมาธิ: ฝึกสติ หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนคลายความคิด
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์หากมีอาการรุนแรง
สรุปบทความนี้
Burnout Syndrome เป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้ามหรือละเลย เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ เราควรรู้เท่าทันสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจของเราเอง รวมไปถึงการหาสาเหตุและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราควรหาเวลาในการพักผ่อน เพื่อกลับมามีแรงกาย แรงใจ และไฟในการทำงานอีกครั้ง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้คนที่เข้ามาอ่านนะครับ ไม่มากก็น้อยสำหรับวันนี้สวัสดีครับ